วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

กรมสรรพากรยกเว้นแวตอี-บุ๊ค

928602กรมฯ เห็นว่า ปัจจุบันควรยกเว้นการเรียกเก็บภาษีแวตจากธุรกิจอี-บุ๊ค ซึ่งเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของหนังสือ ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เหมือนกับผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ในรูปของกระดาษ เพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่านให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น”

อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ประกอบการได้รับการยกเว้นภาษีแล้ว ก็ควรลดค่าบริการให้กับผู้อ่านด้วย ส่วนจะปรับลดค่าโหลดข้อมูลลงในภายหลังหรือไม่ คงแล้วแต่ผู้ประกอบการ และผู้ใช้บริการว่าพอใจในเรื่องของราคาและเนื้อหาที่ได้รับหรือไม่ โดยกรมสรรพากรได้ประเมินวงเงินภาษีที่ต้องสูญไปจากการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ธุรกิจอี-บุ๊ค พบว่ามีไม่มาก แม้ว่าอนาคต ธุรกิจนี้อาจจะขยายตัวมีคนนิยมอ่านอี-บุ๊ค มากขึ้น แต่ก็ถือว่าเป็นมาตรการส่งเสริมการอ่านที่จะช่วยให้คนเข้าถึงแหล่งความรู้ เพิ่มขึ้น

นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรได้ประกาศยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ให้แก่การให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (อี-บุ๊ค) กับหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียนที่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อส่งเสริมการอ่านให้กับประชาชน ทั้งในรูปของกระดาษ และอี-บุ๊ค เนื่องจากปี 35 ที่ผ่านมา กรมฯได้ยกเว้นแวตธุรกิจหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน แต่ที่ผ่านมา อี-บุ๊ค ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างเช่นปัจจุบัน จึงทำให้บริษัทมีรายรับจากการให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องเสียแวตจากการให้บริการดังกล่าว

ทั้งนี้ กรมฯเห็นว่า ควรยกเว้นการเรียกเก็บภาษีแวต จากธุรกิจอี-บุ๊ค ซึ่งเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของหนังสือ ที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องอ่าน อี-บุ๊ค โดยผู้ประกอบการได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นขึ้นมา สำหรับให้ลูกค้าดาวน์โหลดอี-บุ๊ค และเรียกเก็บเงินจากลูกค้าเป็นรายเดือนหรือรายครั้ง ซึ่งผู้อ่านต้องสมัครบัญชีผู้ใช้แล้วยื่นคำขอในการดาวน์โหลดเนื้อหาของ อี-บุ๊ค แล้วจ่ายค่าบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ผู้อ่านจึงจะมีสิทธิดาวน์โหลดเนื้อหาของอี-บุ๊คได้ ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมแก่การให้บริการอี-บุ๊ค จึงควรให้ยกเว้นภาษีแวตเช่นกับผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และตำรำเรียนในรูปของกระดาษ

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์

Source: กรมสรรพากรยกเว้นแวตอี-บุ๊ค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น