วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

แห่ชมลูกวัวพันธุ์ผสมกระทิงป่า

942618อย่างไรก็ตามกระทิงตัวดังกล่าว ได้แอบผสมพันธุ์กับวัวตัวเมียที่เป็นสัตว์นับ 10 ตัวที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ กระทั่งเวลาผ่านไป 1 ปี แม่วัวที่ถูกกระทิงป่าทับก็ตกลูกพันธุ์ผสมถึง 11 ตัว และกระทิงป่าตัวดังกล่าวก็ไม่ยอมกลับเข้าป่า แต่ยังคงวนเวียนดูแลลูก และเมียของมันทั้ง 22 ตัว แม่วัว 11 ตัว และลูกวัว 11 ตัว คล้ายกับจะสร้างฝูงใหม่ แต่สิ่งที่สร้างความสนใจให้นักวิชาการและชาวบ้านคือลูกวัวทั้ง11 ตัว ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดจากการผสมระหว่างกระทิงป่า และวัวพื้นเมืองที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย ทั้ง ๆ ที่ผ่านมา เคยมีความพยายามจะผสมพันธุ์กระทิง และวัวพื้นบ้าน และการผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื่อกระทิงผสมกับวัวพื้นบ้านเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ แต่กลับได้ลูกถึง 11 ตัว จากพ่อกระทิงและแม่วัวพันธุ์พื้นบ้าน โดยวิธีธรรมชาติ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ท้าทาย และน่าตื่นเต็นเป็นอย่างยิ่ง ซ้ำกระทิงป่าตัวดังกล่าวยังผ่อนคลายสัญชาตญาณดิบ และลดความดุร้ายลงไปมากจนคนสามารถเข้าใกล้ได้ ซึ่งชาวบ้าน และนักวิชาการจาก สจล.อยากให้อยู่ในพื้นที่ต่อไป ซึ่งขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่กรมอนุรักษ์สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งยืนยันจะผลักดันวัวกระทิงกลับสู่ผืนป่า จึงต้องหารือกันอีกครั้ง

ด้าน สพญ.กนกวรรณ เปิดเผยว่า ลูกกระทิงป่า และวัวพื้นบ้านถือเป็นวัวสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มีชื่อเรียก คาดว่าจะมีความแข็งแรงปราดเปรียว ร่างกายใหญ่โตและสีสันแปลกไป และช่วยพัฒนาสายพันธุ์วัวพื้นบ้านของไทยให้ดีขึ้นได้ในอนาคต นับว่าเป็นความสำเร็จก้าวแรกของไทยซึ่งในทางวิชาการ น่าจะนำเลือดไปตรวจดีเอ็นเอเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ต่อไปเมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 21 ม.ค. นายวชิระ พันดุสะ นายอำเภอทุ่งตะโก จ.ชุมพรได้เชิญนายฐากร ล้อมศตพร ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 4 (สุราษฏร์ธานี) นายวิโรจน์ นาคแท้ ผอ.ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สพญ.กนกวรรณตรุยานนท์ ผศ.เทียมพบ ก้านเหลืองนักวิชาการ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วิทยาเขตชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์ เข้าร่วมประชุมหารือกรณีกระทิงป่าหนุ่ม โตเต็มวัย น้ำหนักกว่า 1 ตัน พลัดหลงจากฝูง เข้ามาหากินในเขตชุมชนโดยหากินอาศัยอยู่ในสวนปาล์มน้ำมันของชาวบ้าน พื้นที่ หมู่ 8 ต.ตะโก หลังวิทยาลัยเกษตรกรรมชุมพร สร้างความหวาดกลัวให้ชาวบ้านที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่หลายร้อยหลังคาเรือน เนื่องจากโดยธรรมชาติกระทิงป่ายักษ์จะมีนิสัยดุร้ายจนหน่วยงาน จากกรมอนุรักษ์สัตว์ป่าต้องหาทางต้อนให้กลับเข้าไปในผืนป่า แต่หลังจากเตลิดกลับเข้าป่าไม่นานกระทิงหนุ่มตัวดังกล่าวก็ย้อนกลับเข้ามาหา กินในพื้นที่อีกครั้ง จนหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามตลอด 2 ปีที่ผ่านมาเพื่อไม่ให้ทำร้ายคน และพยายามผลักดันให้กระทิงป่ากลับขึ้นไปในป่าดงดิบ

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์

Source: แห่ชมลูกวัวพันธุ์ผสมกระทิงป่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น