วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

จ่อออก พ.ร.ก.-ใช้ ม.44 แก้ประมง นายกฯไม่ให้ชี้ชัด 6 เดือนเสร็จ “เข้าใจตรงกันนะ

EyWwB5WU57MYnKOuFtMtt5PWU0RQbhv3xqFEeY0z5R1yxO1fyRC2gTอย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ก็ไม่ต้องเกรงว่าสิ่งที่รัฐบาลไทยทำจะไม่เต็มที่ เพราะนายกรัฐมนตรีสามารถใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอุดช่องว่างทางกฎหมายที่อียูต้องการได้ เช่น ได้ให้อำนาจทหารเรือในการตรวจตราเรือทุกลำก่อนออกจากท่าเรือ เช่น หากพบเรือลำใดมีอวนลากก็จะไม่อนุญาตให้ออกเรือ เพื่อไม่ให้มีโอกาสในการนำอวนลากไปใช้จับปลา นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้สื่อสารใหม่ ให้เข้าใจตรงกันด้วยว่า ไม่ให้สื่อสารว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จใน 6 เดือน แต่รัฐบาลให้พยายามแก้ไขปัญหานี้อย่างเต็มที่แน่นอน

ด้าน น.ส.สุภาวดี แย้มกมล อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ เปิดเผยว่า เพื่อรับมือกับการแข่งขันในตลาดอาหารทะเลโลกและอียู ภาครัฐและเอกชนไทยต้องเร่งดำเนินการใน 4 เรื่อง คือ 1.แก้ปัญหาแรงงาน ค้ามนุษย์ และที่สำคัญการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (ไอยูยู) 2.หาแนวทางเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 3.ส่งเสริมระบบการตรวจสอบคุณภาพและปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อแก้ปัญหาด้านสุขอนามัยตามมาตรฐานสากล และ 4.ส่งเสริมการขยายตลาดไปยังตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ

วานนี้ (28 เม.ย.) รับทราบความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (ไอยูยู) หลังจากคณะกรรมาธิการยุโรป (อียู) ประกาศให้ใบเหลืองไทยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย ใน พ.ร.บ.ประมง พ.ศ. 2558 และโปรดเกล้าฯลงมาแล้ว โดยจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเร็วๆนี้ และจะมีผลบังคับใช้ใน 60 วัน

ขณะเดียวกัน ครม.มีมติเกี่ยวกับการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เพื่อมาอุดช่องว่างของกฎหมายบางประเด็นที่อียูต้องการ ซึ่งยังไม่ได้มีการแก้ไขใน พ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2558 โดยระบุว่า ควรออก พ.ร.ก.มาหลังจากที่ พ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2558 มีผลบังคับใช้จะดีกว่าการออกในขณะนี้ ส่วนเหตุผลที่ต้องออก พ.ร.ก.เพิ่มเติม เนื่องจากในระหว่างมีพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประมง นั้น เราไม่ได้ ทราบถึงปัญหาของอียู

แหล่งที่มา  :  ไทยรัฐ

Source: จ่อออก พ.ร.ก.-ใช้ ม.44 แก้ประมง นายกฯไม่ให้ชี้ชัด 6 เดือนเสร็จ “เข้าใจตรงกันนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น