
ทั้งนี้ เมื่อหินอวกาศเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์แล้ว จะมีการส่งนักบินอวกาศ 2 คนที่เดินทางไปกับยานโอไรออน ลงไปบนนั้น เพื่อปฏิบัติภารกิจเป็นเวลา 25 วัน ร่วมกับยานสำรวจอวกาศหุ่นยนต์ โดยจะทดลองเดินบนผิวของหินอวกาศนอกยานโอไรออน ทดลองการทำงานของชุดอวกาศแบบใหม่ ทดลองเทคนิคใหม่ของการนำร่องในอวกาศที่หลากหลาย รวมถึงการเก็บตัวอย่างจากหินอวกาศนั้นเพื่อนำกลับมาศึกษาด้วย ซึ่งจะทำให้นักบินอวกาศและนักวิจัยประจำโครงการ สามารถทดสอบถึงกระบวนการในการจัดเก็บและนำตัวอย่างวัตถุบนดาวอังคารกลับมา ได้อย่างปลอดภัยที่สุดสำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ว่า องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา) เผยโครงการ 'แอสเตอรอยด์ รีไดเร็ก มิสชัน' (Asteroid Redirect Mission) มูลค่าราว 1,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 40,603 ล้านบาท) โดยที่ยังไม่รวมค่าปล่อยยานจากภาคพื้นดิน ในการใช้หินอวกาศเป็นสนามทดลองฝึกซ้อมให้กับนักบินอวกาศ ก่อนลงสนามจริงบนดาวอังคาร โดยจากการศึกษาข้อมูลจำนวนมาก นักดาราศาสตร์เคยตั้งเป้าไปที่ดาวเคราะห์ แต่ก็เปลี่ยนมาเลือกใช้หินอวกาศแทนเพราะจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า แม้จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ากันถึงราว 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,200 ล้านบาท)
แหล่งที่มา : เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น