
เมื่อวันที่ 4 มี.ค. นายเจษฎ์ โทณะวณิก กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในฐานะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ร่างบทเฉพาะกาล เปิดเผยว่า บทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาลงรายมาตรา คงมีไม่เกิน 20 มาตรา โดยจะแบ่งเป็นเรื่อง ๆ คือ สิ่งที่เคยเป็นมาในห้วงก่อนการรัฐประหารวันที่ 22 พ.ค.57 ที่มีการใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 กระทั่งถึงห้วงที่มีการทำรัฐประหาร โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และเชื่อมต่อจนถึงการทำหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) รวมถึงแม่น้ำ 5 สายในห้วงที่มีการใช้รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 โดยจะมีส่วนสำคัญที่ระบุถึงการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังยกร่าง ให้เป็นรูปธรรม
นายเจษฎ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ต้องดำเนินการต่อ เพื่อให้กลไกเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด รวมถึงสิ่งที่ยังไม่สามารถทำได้แล้วเสร็จ เช่น การตั้งองค์กรใหม่พร้อมออกกฎหมายรองรับตามรัฐธรรมนูญ โดยจะกำหนดระยะเวลาที่ต้องทำให้แล้วเสร็จไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาทางกฎหมาย อย่างรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยเฉพาะกลไกต่อยอดการทำงานของแม่น้ำ 5 สาย เพื่อไม่ให้สูญเปล่า เพราะต้องยอมรับสถานะของทั้ง สนช. สปช. จะต้องมีความเชื่อมต่อในการทำหน้าที่ต่อหลังจากที่รัฐธรรมนูญใหม่มีผลบังคับ ใช้จนถึงช่วงการเลือกตั้งใหม่ จนได้ส.ส.และส.ว.โดยในระหว่างนั้นบางองค์กรต้องทำงานต่อจนได้สมาชิกรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญกำหนด
แหล่งที่มา : เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น