วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ไล่บี้เก็บภาษีมรดกทำได้ยากเอกชนแนะรัฐบาลดูให้รอบคอบ

887797กำหนดโทษชัดเจน

ขณะ ที่โทษกรณีไม่ยื่นแบบชำระภาษีตามกำหนดนั้น หากผู้รับมรดกยื่นแบบไม่ครบถ้วน หรือไม่ตรงกับความเป็นจริง จะต้องเสียเบี้ยปรับ 1 เท่า หากไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลา จะเสียเบี้ยปรับ 2 เท่า และมีโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 500,000 บาท และผู้ใดที่ทำผิดมาตรา 35 คือ ทำลาย ย้าย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 400,000 บาท และหากเจ้าหน้าที่ที่รู้ข้อมูลของผู้มีหน้าที่เสียภาษี ปล่อยปละละเลยให้ข้อมูลล่วงรู้ไปถึงบุคคลที่ไม่ต้องรู้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท หากผู้รับมรดกไม่มีเงินชำระ สามารถผ่อนจ่ายภาษีได้เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี แต่เมื่อถึงกำหนดแล้วยังไม่มีการชำระภาษีให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจสั่ง อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชอบภาษี โดยไม่ต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง

ภาษีรับให้เสีย 5%

ส่วน รายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรมาตรา 42 (14) เรื่องการรับการให้ โดยกำหนดไว้ชัดเจนว่ากรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ หากผู้รับเป็นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี แต่ได้รับจากบุพการี ผู้สืบสันดาน คู่สมรส จะได้รับยกเว้น สำหรับทรัพย์ที่มีมูลค่า 10 ล้านบาท ส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท ต้องเสียภาษีอัตรา 5% แต่ถ้าผู้รับเป็นบุคคลอื่น จากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือ ตามขนบธรรมเนียมประเพณี ได้ยกเว้นภาษีให้สำหรับทรัพย์ที่มีมูลค่า 10 ล้านบาท ส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท จะเสียภาษีอัตรา 5% ส่วนการรับให้อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้เป็นผู้เสียภาษี หากให้แก่บุตร ได้ยกเว้น สำหรับทรัพย์ที่มีมูลค่า 10 ล้านบาท ส่วนที่เกินเสียอัตรา 5% ส่วนให้แก่บุคคลอื่นให้เสียภาษีเช่นเดิม

บังคับโอนให้สาธารณะ

ด้าน “สมชัย จิตสุชน” ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) มองว่า ในระยะยาวถ้ารัฐบาลจัดเก็บภาษีมรดกได้น้อย ก็ถือว่าไม่บรรลุเป้าหมายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยได้ ซึ่งกฎหมายที่กำลังจะออกมานั้น มองว่าออกให้รัดกุมยาก เพราะเชื่อว่าอาจมีกลุ่มบุคคลใช้ช่องทางหลีกเลี่ยงภาษีแบบถูกต้องตามกฎหมาย ได้อีกด้วย สิ่งที่ทำได้ คือ การพยายามบังคับคนที่เสียภาษีมรดก แต่ไม่อยากเสียภาษี ให้โอนทรัพย์สินเหล่านั้นสู่สาธารณะ ซึ่งช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมได้มากขึ้น

สาระสำคัญ

ทั้ง นี้หากมาดูในรายละเอียดของร่างพ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก จะจัดเก็บจากผู้รับมรดก โดยผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี คือ บุคคลและนิติบุคคลสัญชาติไทย บุคคลหรือนิติบุคคลต่างชาติที่มีภูมิลำเนา หรือสำนักงานใหญ่ในประเทศไทยครบ 3 ปี บุคคลหรือนิติบุคคลต่างชาติที่ได้รับมรดกในประเทศไทย ขณะที่การยกเว้นนั้นจะมีการยกเว้นให้แก่เจ้าของมรดกที่เสียชีวิตก่อนกฎหมาย ใช้บังคับ คู่สมรส หน่วยงานรัฐ กิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์ และ องค์กรระหว่างประเทศ

สำหรับทรัพย์สิน ที่ต้องเสียคือทรัพย์ที่ขึ้นทะเบียน ทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ ยกเว้นทรัพย์ที่เป็นเงินสด ทองคำ พระเครื่อง อัญมณีต่าง ๆ โดยเก็บจากมูลค่ามรดกที่ผู้รับได้รับเกินกว่า 50 ล้านบาท อัตราภาษี กำหนดสูงสุดไว้ที่ 10% ในส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท ส่วนอัตราการจัดเก็บจริง จะอยู่ในชั้นการพิจารณาของกฎหมายลูก เพื่อกำหนดอัตราการบังคับใช้ โดยผู้ที่รับมรดกจะต้องยื่นแบบการชำระภาษีการรับมรดกภายใน 150 วัน นับแต่วันที่รับมรดก แต่สามารถผ่อนชำระได้ 5 ปี โดย 2 ปีแรก จะไม่เสียเงินเพิ่ม ส่วนที่เกินระยะเวลาจะต้องเสียตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร แต่หากว่ามรดกนั้นยังไม่มีการโอนหรือจัดตั้งเป็นกองทุน ทรัพย์สินนั้นก็ยังไม่เข้าข่ายการเสียภาษีที่ว่านี้

ตายก่อนเท่านั้นถึงเลี่ยงได้

เรียก ง่าย ๆ ว่างานนี้ อย่าคิดเลี่ยงภาษีกันทีเดียว...ถ้าอยากจะหลีกเลี่ยงจริง ก็ต้องชิงตายกันไปก่อนที่กฎหมายมีผลบังคับใช้กันนั่นแหละ...ถึงจะรอดดตัว!

เรื่อง นี้...ยังคงเป็นคำถามว่า วัตถุประสงค์ของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ จะช่วยกระจายรายได้และลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้หรือไม่ เพราะกรมสรรพากรมองว่ามีเศรษฐีเข้าข่ายเสียภาษีเพียง 10,000 รายเท่านั้น แถมยังเปิดช่องยกเว้นให้แก่เจ้าของมรดกที่เสียชีวิตก่อนกฎหมายใช้บังคับ คู่สมรส หน่วยงานรัฐ กิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์ และ องค์กรระหว่างประเทศ ประกอบกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี คาดว่าจะจัดเก็บภาษีอัตรากลาง 5%

เตือนคิดให้รอบคอบ

บรรดา ภาคเอกชน อย่าง “อิสระ ว่องกุศลกิจ” ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มองว่า รัฐบาลต้องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม แต่ในความเป็นจริงทำได้หลายวิธี โดยเบื้องต้นทางหอการค้าฯ เห็นด้วยในหลักการในการลดความเหลื่อมล้ำ แต่การจัดเก็บภาษีมรดกมีทั้งผลดีและผลเสีย ดังนั้นรัฐบาลต้องพิจารณาให้รอบด้าน

ขณะที่ “วัลลภ วิตนากร” รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มองว่า เห็นด้วยกับการเก็บภาษีมรดก ซึ่งจะทำให้ภาครัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น และไม่ได้กระทบกับคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยส่วนตัวมองว่าภาษีนี้จัดเก็บกับคนรวย มีมูลค่าทรัพย์สินตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป เท่ากับว่า เป็นผู้มีเงินอยู่แล้ว คงไม่กระทบกระเทือนมาก ซึ่งในหลายประเทศที่พัฒนาแล้วก็จัดเก็บภาษีมรดกกัน และประเทศไทยก็เป็นประเทศกำลังพัฒนา เข้าสู่การพัฒนาแล้ว การจัดเก็บภาษีดังกล่าวจึงถือเป็นเรื่องที่ควรดำเนินการ

ส่วน “ชุมพล พรประภา” ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาษีมรดกเป็นเครื่องมือสำคัญที่รัฐบาลต้องการนำออกมาใช้ลดช่องว่างความ เหลื่อมล้ำทางสังคม แต่ถือว่าเป็นภาษีที่ในหลาย ๆ ประเทศได้ยกเลิกการจัดเก็บไปกันเกือบหมดแล้ว เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีสูงมาก อีกทั้งคนที่เข้าข่ายในการเสียภาษีมรดกมีเพียงหมื่นกว่าราย และในปีหนึ่งก็มีคนเสียชีวิตไม่กี่คน ขณะที่การจัดเก็บภาษีที่ดิน หรืออาคารสถานเป็นรายได้หลักรองจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในที่สุด...รัฐบาล “ประยุทธ์ 1” ได้ตัดสินใจทำคลอดกฎหมายภาษีมรดกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา แม้ว่าตามกระบวนการขั้นตอนแล้วกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในเดือน มิ.ย. 58 ก็ตาม แต่การคลอดกฎหมายฉบับนี้ออกมาก็ถือเป็นการลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ สร้างความเป็นธรรมให้กับสังคมไทย โดยหลักการแล้วจะจัดเก็บผู้มีมรดกเกินกว่า 50 ล้านบาท เบื้องต้นได้กำหนดเพดานภาษีสูงสุดไว้ที่ 10%ขณะเดียว กันเพื่อให้การลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างแท้จริง รัฐบาลจึงเห็นชอบให้แก้ไขร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรมาตรา 42 (14) เรื่องการรับการให้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปัจจุบัน ให้สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีการรับมรดก เพื่อหวังปิดช่องโหว่การโอนหรือการเลี่ยงการเสียภาษีมรดก ที่กำหนดเรียกเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ในส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทในอัตรา 5%

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์

Source: ไล่บี้เก็บภาษีมรดกทำได้ยากเอกชนแนะรัฐบาลดูให้รอบคอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น