วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พณ. ปัดลักไก่ชงร่าง ก.ม.จดลิขสิทธิ์กลิ่น-เสียง

EyWwB5WU57MYnKOuFIzZ8vd9fXbrWVqpNAHnZHxu3kThmMAcGVtgilขณะเดียวกัน ไม่ได้เกิดผลกระทบต่อยาของไทยตามที่เอ็นจีโอกล่าวหาว่าจะทำให้ต่างประเทศเอา กลิ่นพืชสมุนไพรไทยมาสังเคราะห์ให้เป็นกลิ่นใหม่แล้วนำมาจด เครื่องหมายการค้าในไทย ได้รับความคุ้มครองในไทย และทำให้เจ้าของสินค้าไทย โดยเฉพาะยา ที่มีกลิ่นใกล้เคียงกัน ไม่สามารถใช้กลิ่นนั้นๆ ได้ กรณีดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากลิ่น แต่เป็นการจดทะเบียนสิทธิบัตร แต่ต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่า กลิ่นที่สังเคราะห์ใหม่มีการใช้นวัตกรรมใหม่ เพื่อทำให้ได้กลิ่นใหม่จริง จึงจะสามารถให้จดสิทธิบัตรได้

สำหรับการพิจารณาให้จดเครื่องหมายการค้ากลิ่นและเสียงนั้น จะไม่อนุญาตให้นำกลิ่น หรือเสียงที่บ่งบอกถึงลักษณะของสินค้า หรือกลิ่นในธรรมชาติมาใช้จดเครื่องหมายการค้า เช่น กลิ่นกาแฟ จะใช้จดเป็นเครื่องหมายการค้าสินค้ากาแฟ หรือร้านกาแฟไม่ได้ เพราะกลิ่นกาแฟเป็นกลิ่นทั่วไปที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ, กลิ่นตะไคร้หอม จะใช้จดเครื่องหมายการค้ายากันยุงไม่ได้ หรือกลิ่นมะนาว จะใช้จดเครื่องหมายการค้าน้ำยาล้างจานไม่ได้ เป็นต้น แต่กลิ่นที่จะให้จดได้ต้องไม่บ่งบอกถึงคุณลักษณะของสินค้าเลย เช่น กลิ่นกุหลาบ กับสินค้ายางรถยนต์ เป็นต้น

ส่วนเสียงที่จะจดเป็นเครื่องหมาย เช่น เสียงไอศกรีมวอลล์ เสียงสิงโตคำรามของบริษัทผลิตภาพยนตร์ในฮอลลีวูดที่จดไปแล้วในสหรัฐฯ หรืออย่างจิงเกิลเข้ารายการต่างๆ ถ้าไม่มีกฎหมายคุ้มครอง เสียงเหล่านี้อาจถูกคนอื่นเอาไปใช้ เจ้าของจะเอาผิดก็ไม่ได้ แต่ถ้ามีกฎหมาย คนละเมิดจะมีความผิดตามกฎหมาย

นอกจากนี้ ในปี 55 กระทรวงพาณิชย์ ได้เสนอร่างพ.ร.บ.อีกหนึ่งฉบับเกี่ยวกับการเข้าเป็นภาคี พิธีสารมาดริด ซึ่งเมื่อมีรัฐบาลใหม่ กรมฯจึงเสนอเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. และครม. เมื่อวันที่ 12 พ.ย.57 มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ร่วมกับกรมฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารวมร่างพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับเป็นฉบับเดียว เพราะมีบางมาตราซ้ำซ้อนกัน ขณะเดียวกัน มีหลายฝ่าย โดยเฉพาะองค์กรภาคประชาชน (เอ็นจีโอ) ไม่เห็นด้วยกับการขยายขอบเขตเครื่องหมายการค้าไปยังกลิ่นและเสียง ก็จะถือโอกาสพิจารณาร่วมกับกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทบทวนใหม่ ทั้งๆ ที่ในตอนที่ยกร่างกฎหมายนี้ไม่มีใครคัดค้าน คาดน่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้

"การขยายขอบเขตการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้ากลิ่นและเสียง เป็นการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยนำกลิ่นและเสียง ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าที่ใช้ในต่างประเทศมาใช้กับสินค้าของตน เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการตลาด การแข่งขันทางการค้า และแสดงถึงความก้าวหน้าในกฎหมายดังกล่าวของไทย ปัจจุบัน หลายประเทศใช้กันแล้ว เช่น สหรัฐฯ ยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ส่วนการลดระยะเวลาจดทะเบียน ก็สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในการลดขั้นตอนการให้บริการประชาชน"เมื่อวันที่ 14 พ.ย. นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยถึงการเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่...) พ.ศ.... เพื่อขยายความคุ้มครองไปยังเครื่องหมายการค้าที่เป็นกลิ่นและเสียง และการลดระยะเวลาและปรับปรุงขั้นตอนการจดทะเบียน โดยยืนยันว่า กรมฯไม่ได้ลักไก่เสนอให้ ครม.พิจารณาอย่างที่ถูกกล่าวหา เพราะการแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าว กรมฯดำเนินการมาตั้งแต่ปี 49 แล้ว และต่อมามีการยุบสภา ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจึงตกไป

แหล่งที่มา  :  ไทยรัฐ

Source: พณ. ปัดลักไก่ชงร่าง ก.ม.จดลิขสิทธิ์กลิ่น-เสียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น